skip to main content

นวัตกรรมได้ช่วยผลักดันส่งโภคภัณฑ์จากถุงเป็นปริมาณมาก

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานหลายจุด Cargill ได้ทำงานเพื่อรับรองให้การขนส่งจากฟาร์มสู่จานของผู้บริโภคนั้นเป็นไปอย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ 

January 01, 2015

เมื่อ W. W. Cargill ผู้ก่อตั้ง Cargill ได้เริ่มตั้งคลังเก็บเมล็ดธัญพืชในปี 1865 เขาก็ได้เริ่มการทำงานกว่า 150-ปีในการต้นทุนในการขนขึ้นจัดส่ง, การขนสินค้าขึ้นเรือ, การจัดเก็บ, การขนส่ง และการจัดส่งโภคภัณฑ์เมล็ดธัญพืช คลังเก็บ, พลั่ว และเกวียน ก็ได้หลีกทางให้กับลิฟต์, สายพาน, รถไฟ และเรือขนสินค้า ความต้องการผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ได้ผลักดันความจำเป็นสำหรับนวัตกรรมใหม่ๆ ในปี 1900 ลิฟต์ขนส่งผลิตภัณฑ์การเกษตรขนาดใหญ่ได้ขนธัญพืชกว่า 25,000 บุชเชิล ปัจจุบัน ลิฟต์ขนส่งผลิตภัณฑ์การเกษตรโดยเฉลี่ยแล้วจะขนได้กว่า 150,000 บุชเชิล

จากการเติบโตในระดับโลกของ Cargill ทางบริษัทก็ได้สั่งสมความชำนาญในการจัดการธัญพืช ซึ่งได้ขยายไปถึงโภคภัณฑ์อื่นๆ มากมายซึ่งต้องใช้ เทคนิคต่างๆ หลายแบบ มีการตรวจพบการขาดประสิทธิภาพในการจัดการ เนื้อมะพร้าวแห้ง ซึ่งนำมาผลิตน้ำมันมะพร้าว ในปี 1947 Cargill ได้เปิดสำนักงานที่ฟิลิปปินส์ เพื่อทำการซื่อเนื้อมะพร้าวแห้ง เพื่อส่งไปยังโรงงานแปรรูปในซานฟรานซิสโก การขนสินค้าขึ้นเรือ และการขนลงจากการส่ง จำเป็นต้องใช้แรงงานจำนวนมากทั้งสองฝั่ง

Howard Boone หัวหน้าของโรงงานแปรรูปเนื้อมะพร้าวแห้งที่ซานฟรานซิสโกของ Cargill ได้ระบุกระบวนการการขนสินค้าขึ้นเรือช่วงเริ่มแรกไว้ดังนี้: “เรือจะต้องถอยเข้าท่าเรือ [พร้อมกับ] เอาทางเชื่อมออกมาทางนี้ และ [คนงานก็จะ] ขนถุงเนื้อมะพร้าวแห้งไว้บนหัว แล้ววางไว้ที่คลังเก็บของเรือ พวกเขาจะออกมาอีกฝั่งหนึ่ง แล้ว [พวกเขาจะ] ได้แท่งไม้หรืออะไรแบบนั้น แล้ว [นั่นคือ] การรับค่าจ้างของพวกเขา ได้ทีละน้อยๆ [พวกเขาจะ] ขึ้นมาจากฝั่งหนึ่ง แล้วข้ามตัวเรือแล้วลงทางอีกฝั่งหนึ่ง”

การขนสินค้าขึ้นเรือ ทีละถุงนั้นกินเวลานานมาก และไม่มีประสิทธิภาพ และจำเป็นต้องหาวิธีการที่ดีกว่า และเร็วกว่า ในการขนสินค้าขึ้นเรืออย่างแน่นอน นวัตกรรมแรกของ Cargill มีส่วนของการใช้ เครนปุ้งกี๋ขนาดใหญ่ในการขนเนื้อมะพร้าวแห้งขึ้นเรือเป็นปริมาณมาก ลิฟต์และสายพานขนสินค้าขึ้นเรือขนาดใหญ่สำหรับขนส่งเนื้อมะพร้าวแห้งข้ามมหาสมุทรอย่ามีประสิทธิภาพ ส่วนฝั่งที่รับสินค้านั้น มีการนำรถตักไปไว้บนเรือแล้วเนื้อมะพร้าวแห้งก็จะถูกดูดออกมานำไปแปรรูปเป็นน้ำมันและอาหารสัตว์

มีการใช้การขนสินค้าขึ้นเรือและลงจากเรืออีกแบบหนึ่งสำหรับปลาป่นที่เปรูในทศวรรษ 1960 ซึ่งแอนโชวี่จะถูกแปรรูปไปเป็นอาหารสัตว์ที่อุดมไปด้วยไลซีน มีการใช้ถุงสำหรับการขนส่งปลาป่นทั่วไปเช่นเดียวกัน ดังนั้น Cargill จึงได้มุ่งที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบของโภคภัณฑ์เป็นแบบอัดเม็ดแทน ซึ่งการเปลี่ยนอาหารสัตว์เป็นแบบอัดเม็ดนี้ช่วยแก้ปัญหาในการขนส่งเนื่องจากสามารถจัดการได้ครั้งละจำนวนมากๆ อย่างไรก็ตาม อาหารที่อุดมไปด้วยน้ำมันนั้นจะเสียได้ง่ายจากการเกิดอ๊อกซิเจเนชั่น Cargill จึงได้ติดต่อบริษัทเคมีเพื่อช่วยแก้ปัญหานี้ และค้นพบสารแอนตี้อ๊อกซิแดนท์สำหรับผสมในอาหารสัตว์นี้ การทำเช่นนี้ทำให้ Cargill เปลี่ยนรูปแบบโภคภัณฑ์ ไปสู่รูปแบบที่กลายเป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรมหลังจากนั้นไม่นาน

ในช่วงทศวรรษ 1970 ที่อีกฝั่งหนึ่งของอเมริกาใต้ Cargill ได้มอบทางเลือกสำหรับอุตสาหกรรมน้ำส้มที่เติบโตขึ้นของบราซิล โดยการแปรรูปเปลือกและเนื้อผลไม้ไปเป็นโภคภัณฑ์ที่มีค่าสำหรับอาหารสัตว์ Cargill ได้ใช้เทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จจากธุรกิจปลาป่น: การตากแห้ง, การอัดเม็ด และการขนส่งเป็นปริมาณมาก อีกครั้งหนึ่งที่แวดวงอุตสาหกรรมได้เล็งเห็นถึงการพัฒนาของ Cargill แล้วรีบนำเอาเทคนิคนี้ไปใช้ ในปัจจุบัน นวัตกรรมสำหรับธุรกิจโภคภัณฑ์ของ Cargill ยังได้ช่วยรับรองให้ตลาดของเหลวสำหรับผู้ซื้อและผู้ขายทั่วทั้งแวดวงอุตสาหกรรมด้วย