skip to main content

การสร้างเส้นทางใหม่สู่ตลาดทั่วโลกโดยทางเรือ

ท่าเรือเมือง Baie Comeau ในเส้นทางเดินเรือ St. Lawrence Seaway คือประตูสู่โอกาสใหม่ๆ ในปัจจุบันคาร์กิลล์สามารถให้บริการตลาดทั่วโลกได้ทั้งทางบก และ ทางทะเล 

January 01, 2015

ในปี 1954 แคนาดาและสหรัฐฯ ได้ประกาศความร่วมมือในโครงการขุดเส้นทางเดินเรือ St. Lawrence Seaway ให้ลึกและขยายออกไป ภายในปี 1959 การขยายแนวหลักของเส้นทางซึ่งเป็นแนวแบ่งระหว่างตอนใต้ของรัฐควิเบกและตอนเหนือของรัฐนิวยอร์ก ช่วยพัฒนาการขนส่งในบริเวณทั่วทั้งทะเลสาบเกรตเลกส์ไปจนถึงมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือได้อย่างมาก

จอห์น แมคมิลลาน จูเนียร์ ประธานบริษัทคาร์กิลล์ ซึ่งกำลังแสวงหาเส้นทางใหม่ๆ เพื่อให้บริการในตลาดทั่วโลก ได้รับแรงบันดาลใจจากข่าวนี้ จากช่วงหลายทศวรรษก่อนหน้านี้ซึ่งจะต้องอาศัยเพียงไซโลเก็บเมล็ดพืชตามริมทางรถไฟในอเมริกา นำมาสู่การมุ่งพัฒนาท่าเรือตามเส้นทางเดินเรือสากลหลังจากนั้น

เมื่อมีเส้นทางเดินเรือ St. Lawrence ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งใหม่ จอห์น จูเนียร์ จึงลงทุนด้วยเงินทุนก้อนใหญ่ที่สุดของบริษัทในเวลานั้น เพื่อสร้างท่าเทียบเรือเดินสมุทรขึ้นที่เมือง Baie Comeau บนปากแม่น้ำ St. Lawrence เขาได้พิจารณาพื้นที่หลายแห่ง แต่ในที่สุดเขาก็เลือกเมือง Baie Comeau เนื่องจากที่ตั้งของเมืองสามารถเข้าถึงได้สะดว ทั้งยังมีโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถรองรับท่าเรือได้ และอยู่ใกล้กับอ่าว St. Lawrence ขณะที่บริเวณอื่นๆ ของเส้นทางเดินเรือจะเป็นน้ำแข็งในช่วงฤดูหนาวที่มีอากาศหนาวจัด แต่น้ำที่เมือง Baie Comeau ไม่เป็นเช่นนั้น ช่วยให้คาร์กิลล์มีเส้นทางออกสู่มหาสมุทรแอตแลนติกของตัวเองได้ตลอดทั้งปี

Baie Comeau Ocean Term Est Inpage

ลำเลียงบุชเชิลออกจากเรือท้องแบน (1) ชั่งวัดและใส่เข้าไปในไซโล (2-3) จากนั้นธัญพืชจะได้รับการตรวจสอบ (4) และชั่งวัดสำหรับเรือที่จะออกไปยังมหาสมุทร (5-6)

ปัจจุบัน ท่าเรือแห่งนี้ยังคงเป็นจุดขนส่งขนาดใหญ่ที่สุดของคาร์กิลล์ในอเมริกาเหนือ ซึ่งมีไซโลขนาด 13 ล้านบุชเชิล และเก็บธัญพืชได้สูงสุด 440,000 เมตริกตัน การสร้างท่าเรือที่เมือง Baie Comeau เป็นเพียงหนึ่งในการริเริ่มของคาร์กิลล์เพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์สหรัฐฯ จากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ด้วยเส้นทางสู่มหาสมุทรแอตแลนติกเส้นทางใหม่นี้ ช่วยให้สามารถลำเลียงธัญพืชคุณภาพสูงไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกซึ่งขาดแคลนและมีไม่เพียงพอต่อความต้องการได้