skip to main content

เปิดการค้ากับประเทศจีนด้วยวิธีการที่อดทน 

เพื่อช่วยให้บริษัทให้เข้าสู่ตลาดประเทศจีนในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ผู้บริหารของคาร์กิลล์ได้พาตนเองเข้าไปอยู่ในวัฒนธรรมของประเทศจีน 

January 15, 2015

ในปี 1969 คาร์กิลล์ได้ตั้งเป้าไปยังตลาดแห่งใหม่ นั่นคือ ประเทศจีน ซึ่งมีความเป็นไปได้สำหรับการทำธุรกิจใหม่สูง แต่กำแพงด้านวัฒนธรรมก็ดูเกือบจะฝ่าไปแทบไม่ได้ ขณะนั้นรัฐบาลอเมริกายังไม่ยอมรับสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ ชาวอเมริกันจึงยังไม่ได้รับอนุญาตแม้แต่การเข้าประเทศจีน

บริษัทรู้ดีว่าความอดทนจะเป็นกุญแจสู่ความคืบหน้า เจเรมี่ แลง นักธุรกิจผู้ชื่นชอบการผจญภัยซึ่งทำงานให้กับ TRADAX ซึ่งเป็นศูนย์ปฏิบัติการนานาชาติของคาร์กิลล์ที่มีฐานปฏิบัติการในยุโรป ก็เข้ามามีบทบาท แลง ถือพาสปอร์ตของสหราชอาณาจักร ซึ่งยอมรับรัฐบาลที่ปกครองประเทศจีน ซึ่งหนังสือรับรองนั้นทำให้เขาสามารถเดินทางเข้าประเทศจีนเพื่อเข้าร่วมในงานแสดงสินค้ากวางตุ้งได้ ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้านำเข้าและส่งออกที่จัดขึ้นปีละสองครั้งของประเทศจีน และเป็นสถานที่หนึ่งในไม่กี่แห่งที่ผู้ซื้อจากต่างประเทศสามารถพบผู้ขายชาวจีนได้

Chinese Trade Est Inpage
เจเรมี่ แลง ผ่านการตรวจคนเข้าเมืองของประเทศจีน และได้เดินทางไปร่วมงานแสดงสินค้ากวางตุ้งทุกปี ซึ่งเป็นการสร้างรากฐานให้แก่งานของคาร์กิลล์ในตลาดเอเชีย

ในการเดินทางสองสามครั้งแรกของเขานั้น แลงได้พบว่างานสินค้าช่างเป็นสถานที่ที่ไม่มีระบบระเบียบและน่าผิดหวัง แต่เขาก็สร้างความสัมพันธ์และเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ในปี 1972 ริชาร์ด นิกสัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมระหว่างจีนและอเมริกา Sino-US Joint Communiqué ฉบับแรก เพื่อเปิดการค้าระหว่างประเทศจีนและประเทศสหรัฐอเมริกา

ในเดือนกรกฎาคมปี 1973 แลง ได้ถูกเรียกตัวไปยังปักกิ่งเพื่อทำการซื้อธัญพืชจีนครั้งแรกของคาร์กิลล์ ที่นั่น เขาได้พบกับทีมนักเจรจาต่อรองของรัฐบาล และใช้เวลาหลายวันในการตอบคำถามเรื่องส่วนตัว ในวัฒนธรรมหลายแห่งของเอเชีย มีธรรมเนียมการสร้างความสัมพันธ์ส่วนตัวก่อนการหารือทางธุรกิจที่มีความสำคัญ

ในที่สุดทีมงานก็พูดถึงเรื่องธัญพืชในวันที่เจ็ดของการประชุม สามสัปดาห์ถัดมา พวกเขาก็ได้มาถึงจุดที่ทำข้อตกลงสำหรับข้าวสาลีปริมาณ 500,000 ตัน จากนั้นก็ใช้เวลาอีกสี่สัปดาห์เพื่อทำข้อตกลงเกี่ยวกับการส่งออก ในท้ายที่สุด ด้วยความมานะอุตสาหะ ท่าทีที่สุขุม และประสบการณ์ที่ครอบคลุมในประเทศจีนของแลง ทำให้บรรลุข้อตกลงได้

“คาร์กิลล์ได้รับการพิจารณาว่าเป็นหนึ่งในผู้ลงทุนที่มีความโดดเด่นที่สุด เนื่องจา่กประเทศจีนมีเศรษฐกิจแบบพึ่งพาเกษตรกรรม แต่ยังคงมีความขาดแคลนทางอาหาร การปฏิบัติงานของบริษัทซึ่งมีวัตถุดิบของตัวเอง ก็เข้ากันได้กีกับสถานการณ์นั้นพอดี”
— เจเรมี่ แลง ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไปของ TRADAX กล่าว

จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ เหล่านั้น ธุรกิจของคาร์กิลล์ในประเทศจีนในปัจจุบันได้ขยายไปในบริการและอุตสาหกรรมหลายภาคส่วน ด้วยการเน้นไปที่การพัฒนาความมั่นคงด้านอาหารทั่วประเทศในระยะยาว

Chinese Trade Est Inpage 2
ในวันนี้ คาร์กิลล์ดูแลตลอดห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ไข่จนฟักเป็นตัว และตั้งแต่อาหารสัตว์ไปจนถึงการแปรรูป โดยเลี้ยงสัตว์ปีกภายในฟาร์มของคาร์กิลล์ในจังหวัดอันหุ่ยที่อยู่ห่างไกล

และขณะที่ประเทศจีนก็ยังคงเติบโตทางด้านเศรษฐกิจต่อเนื่อง ความร่วมมือทางการค้าก็เช่นกัน โครงการริเริ่มล่าสุดของคาร์กิลล์ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทที่มีต่อโซลูชันระยะยาวที่ยั่งยืน สำหรับตลาดที่อาศัยการเกษตรเป็นหลัก: การช่วยเหลือเกษตรให้เรียนรู้หลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีที่สุด การให้เด็กๆ ในพื้นที่ชนบทห่างไกลที่สุดได้เข้าถึงการศึกษาได้ดีขึ้น และการนำระเบียบการเพื่อความมั่นคงด้านอาหารสมัยใหม่มาใช้ทั่วทั้งธุรกิจสัตว์ปีกที่แผ่ขยายออกไปของบริษัท