skip to main content

การสร้างความสัมพันธ์ครั้งใหม่ในญี่ปุ่น 

เมื่อคาร์กิลล์ได้รับสิทธิ์เข้าถึงองค์กรการค้าเมล็ดพืชของอเมริกา บริษัทก็ได้รับสิทธิ์เข้าถึงตลาดใหม่ๆ ในญี่ปุ่นด้วย 

January 01, 2015

หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง บริษัทการค้ามากมายประสบช่วงเวลาที่ยากลำบากในการเข้าถึงตลาดธุรกิจญี่ปุ่น คาร์กิลล์ได้เริ่มการเข้าสู่ตลาดแห่งนี้ในปี 1953 เมื่อบริษัทได้เข้าซื้อกิจการของ Kerr Gifford & Co. ซึ่งเป็นองค์กรค้าเมล็ดพืชที่เคยใช้ทีมงานตัวแทนในประเทศญี่ปุ่นในการขายธัญพืชให้กับนายหน้าชาวญี่ปุ่น จากที่ตั้งในสหรัฐอเมริกา ในปี 1956 คาร์กิลล์ได้ซื้อตัวแทนแห่งดังกล่าว และสร้างโอกาสในการขายธัญพืชให้กับตลาดญี่ปุ่นโดยตรง ผ่านนายหน้าชาวญี่ปุ่น

เมื่อเริ่มมีบทบาทในญี่ปุ่น คาร์กิลล์ก็ได้สร้างโรงเก็บธัญพืชขนาดใหญ่ขึ้นที่เมืองคาวาซากิ ในอ่าวโตเกียว เพื่อรับสินค้าจากเรือลำเลียงขาเข้าที่บรรทุกธัญพืชนำเข้าถึง 52,200 ตัน แม้ว่าจะมีกลยุทธ์ที่มีอนาคต แต่หลังจากนั้นไม่นานวิธีการของโรงเก็บดังกล่าวก็ถูกคู่แข่งเลียนแบบ ซึ่งทำให้คาร์กิลล์สูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขันและมีผลกำไรลดลง ผลก็คือ บริษัทจำเป็นต้องค้าขายผ่านนายหน้าชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผลมาเป็นเวลาหลายปี

จากนั้น ในปี 1987 บริษัทผู้ค้าของญี่ปุ่นได้ทำการคว่ำบาตรเพื่อประท้วงการมีส่วนร่วมของคาร์กิลล์ ซึ่งเป็นธุรกิจต่างชาติสำหรับประเทศนี้ เพื่อให้ได้รับการยอมรับและเพื่อแสดงถึงการสนับสนุนธุรกิจของประเทศญี่ปุ่น คาร์กิลล์จึงได้ซื้อหุ้นสองล้านหุ้นใน Showa Sangyo ซึ่งเป็นผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ของญี่ปุ่น คาร์กิลล์ได้เริ่มขายถั่วเหลืองให้กับ Showa โดยตรง และในที่สุด การคว่ำบาตรก็ยุติลง

เมื่อตลาดญี่ปุ่นมีการพัฒนา คาร์กิลล์จะปรับปรุงให้สอดคล้องอยู่ตลอดเวลา ในปี 1995 คาร์กิลล์ได้กลายเป็นบริษัทที่ไม่ใช่ของญี่ปุ่นรายแรกที่ได้รับสิทธิ์โดยรัฐบาลญี่ปุ่นให้นำธัญพืชเข้าจำหน่ายในประเทศได้โดยตรง ซึ่งทำให้คาร์กิลล์สามารถส่งธัญพืชและข้าวบาร์เลย์ให้กับตัวแทนด้านอาหารของรัฐบาลญี่ปุ่นโดยตรงได้ถึง 40,000 ตัน แทนที่จะติดต่อผ่านนายหน้า คาร์กิลล์สามารถมีบทบาทในญี่ปุ่นได้มากขึ้น โดยการประสานงานกับอุตสาหกรรมจำหน่ายธัญพืชและโม่แป้งของประเทศได้โดยตรง

ความสำเร็จครั้งสำคัญของคาร์กิลล์ในญี่ปุ่นคือ เมื่อปี 1997 บริษัท Toshoku ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทอาหารของประเทศ ได้ถูกสั่งล้มละลาย คาร์กิลล์ได้เข้าบริหารงาน Toshoku ต่อ และกลายเป็นบริษัทต่างชาติรายแรกที่ได้รับการรับรองให้เป็นผู้อุปถัมภ์บริษัทที่ล้มละลายในญี่ปุ่น คาร์กิลล์ได้เข้าซื้อบริษัทดังกล่าวอย่างสมบูรณ์ในปี 2000 และได้รับสิทธิ์เข้าถึงลูกค้ารายใหม่จำนวนหนึ่ง ความรู้เกี่ยวกับลูกค้าที่ลึกซึ้งของ Toshoku ผนวกกับประสิทธิภาพด้านซัพพลายเชนของคาร์กิลล์ กลายเป็นโมเดลธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เมื่อเวลาผ่านไป Toshoku มีความมั่นคงทางการเงิน ทำให้คาร์กิลล์สามารถเสนออาหารบรรจุหีบห่อชนิดใหม่ๆ และส่วนผสมพิเศษให้กับผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นได้

การพบตำแหน่งของตนเองในญี่ปุ่นถือเป็นขั้นตอนสำคัญของการขยายสู่สากลของคาร์กิลล์ ซึ่งช่วยให้บริษัทเข้าสู่ประเทศต่างๆ ทั่วทั้งเอเชียได้ในที่สุด คาร์กิลล์ยังคงแสดงถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาตลาดภายในของประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อช่วยให้ลูกค้าประสบความสำเร็จมากขึ้น